เมียไม่มี

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ใบความรู้ที่ 28 กฏหมายเกี่ยวกับครอบครัว ใบความรู้ที่ 28 กฏหมายเกี่ยวกับครอบครัว กฎหมายเกี่ยวกับครอบครัวที่สำคัญ เช่นกฎหมายเกี่ยวกับการหมั้น กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส กฎหมายเกี่ยวกับการรับรองบุตร เป็นต้น 1. กฎหมายเกี่ยวกับการหมั้น หมายถึง การที่ชายและหญิงทำสัญญาว่าจะทำการสมรสกันเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ แต่จะฟ้องศาลบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งทำการสมรสไม่ได้เมื่อมีการหมั้นแล้วของหมั้นตกเป็นสิทธิของฝ่ายหญิงการเลิกสัญญาหมั้นด้วยความยินยอมทั้งสองฝ่าย ย่อมทำได้โดยไม่ต้องทำหลักฐานใด ๆ 2. กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส หมายถึง การที่ชายและหญิงสมัครใจที่จะอยู่กินเป็นสามีภรรยากันโดยจะต้องมีการจดทะเบียนสมรสกับนายทะเบียนเพื่อเป็นหลักฐาน โดยเงื่อนไขที่สำคัญของการสมรสตามกฎหมายผู้ที่จะทำการสมรสได้จะมีคุณสมบัติดังนี้ 1. จะต้องเป็นชายและหญิงที่มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ 2. ชายหรือหญิงจะต้องไม่เป็นผู้วิกลจริตและไม่เป็นเพศเดียวกัน 3. ชายหรือหญิงจะต้องไม่เป็นญาติหรือสืบสายโลหิตต่อกันโดยตรงหรือไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันและไม่เป็นบุตรบุญธรรม 4. ไม่เป็นผู้ที่มีสามีหรือภรรยาอยู่แล้ว หากเป็นหญิงม่ายต้องหย่าขาดจากสามีมาแล้วไม่ต่ำกว่า 310 วัน 5. การสมรสจะต้องเป็นไปตามความสมัครใจของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงและจะทำได้เพียงคนเดียวไม่สามารถทำการสมรสซ้อนได้จนกว่าจะมีการหย่าขาดจากกันถูกต้องตามกฎหมายก่อน 6. ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้เมื่อได้รับคำยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง 7. การสมรสนั้นจะต้องมีการจดทะเบียนสมรสจึงจะถูกต้องตามกฎหมาย 3. กฎหมายเกี่ยวกับการรับรองบุตร การรับรองบุตรบุญธรรม คือการรับเอาเด็กซึ่งไม่ได้เป็นลูกของตนเองมาเป็นบุตรของตน ซึ่งจะมีความสมบูรณ์เมื่อมีการรับรองบุตรก่อนเท่านั้น โดยหลักเกณฑ์การรับบุตรบุญธรรมที่สำคัญมีดังนี้ 1. บุคคลที่จะรับบุตรบุญธรรมได้จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และได้รับการยินยอมจากคู่สมรส นอกจากนั้นต้องมีอายุห่างจากบุตร 15 ปี ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาของบุตรบุญธรรม 2. การรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมายแล้วเท่านั้น 3. ถ้าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีอายุเกิน 15 ปีบริบูรณ์ย่อมมีสิทธิให้ความยินยอมด้วย 4. บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะเดียวกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้นแต่จะไม่สูญเสียสิทธิในครอบครัวที่ให้กำเนิดมาและการรับบุตรบุญธรรมจะมีความสมบูรณ์เมื่อมีการจดทะเบียนตามกฎหมายแล้วเท่านั้น 5. กฎหมายเกี่ยวกับมรดก คำว่า มรดก หมายถึง ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย รวมทั้งสิทธิและหน้าที่ตลอดทั้งความรับผิดชอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนเสียชีวิต ซึ่งทายาทโดยธรรมคือผู้ทีจะได้รับมรดกจากผู้ตายเป็นลำดับแรก ซึ่งกฎหมายได้จัดแบ่งทายาทโดยธรรม ออกเป็น 6 ชั้น ดังนี้ 1. ผู้สืบสันดาน (บุตร) บิดา มารดา 2. พี่น้องร่วมสายโลหิตเดียวกัน 3. พี่น้องร่วมแต่บิดา 4. พี่น้องร่วมแต่มารดา 5. ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา 6. คู่สมรสซึ่งหมายถึงสามีภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย

ใบความรู้ที่ 28 กฏหมายเกี่ยวกับครอบครัว


ใบความรู้ที่ 28
กฏหมายเกี่ยวกับครอบครัว

กฎหมายเกี่ยวกับครอบครัวที่สำคัญ เช่นกฎหมายเกี่ยวกับการหมั้น กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส กฎหมายเกี่ยวกับการรับรองบุตร เป็นต้น
1. กฎหมายเกี่ยวกับการหมั้น หมายถึง การที่ชายและหญิงทำสัญญาว่าจะทำการสมรสกันเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ แต่จะฟ้องศาลบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งทำการสมรสไม่ได้เมื่อมีการหมั้นแล้วของหมั้นตกเป็นสิทธิของฝ่ายหญิงการเลิกสัญญาหมั้นด้วยความยินยอมทั้งสองฝ่าย ย่อมทำได้โดยไม่ต้องทำหลักฐานใด ๆ
2. กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส หมายถึง การที่ชายและหญิงสมัครใจที่จะอยู่กินเป็นสามีภรรยากันโดยจะต้องมีการจดทะเบียนสมรสกับนายทะเบียนเพื่อเป็นหลักฐาน โดยเงื่อนไขที่สำคัญของการสมรสตามกฎหมายผู้ที่จะทำการสมรสได้จะมีคุณสมบัติดังนี้
1. จะต้องเป็นชายและหญิงที่มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์
2. ชายหรือหญิงจะต้องไม่เป็นผู้วิกลจริตและไม่เป็นเพศเดียวกัน
3. ชายหรือหญิงจะต้องไม่เป็นญาติหรือสืบสายโลหิตต่อกันโดยตรงหรือไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันและไม่เป็นบุตรบุญธรรม
4. ไม่เป็นผู้ที่มีสามีหรือภรรยาอยู่แล้ว หากเป็นหญิงม่ายต้องหย่าขาดจากสามีมาแล้วไม่ต่ำกว่า 310 วัน
5. การสมรสจะต้องเป็นไปตามความสมัครใจของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงและจะทำได้เพียงคนเดียวไม่สามารถทำการสมรสซ้อนได้จนกว่าจะมีการหย่าขาดจากกันถูกต้องตามกฎหมายก่อน
6.  ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้เมื่อได้รับคำยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
7.  การสมรสนั้นจะต้องมีการจดทะเบียนสมรสจึงจะถูกต้องตามกฎหมาย
3.  กฎหมายเกี่ยวกับการรับรองบุตร  การรับรองบุตรบุญธรรม คือการรับเอาเด็กซึ่งไม่ได้เป็นลูกของตนเองมาเป็นบุตรของตน ซึ่งจะมีความสมบูรณ์เมื่อมีการรับรองบุตรก่อนเท่านั้น โดยหลักเกณฑ์การรับบุตรบุญธรรมที่สำคัญมีดังนี้
  1. บุคคลที่จะรับบุตรบุญธรรมได้จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และได้รับการยินยอมจากคู่สมรส นอกจากนั้นต้องมีอายุห่างจากบุตร 15 ปี ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาของบุตรบุญธรรม
  2. การรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมายแล้วเท่านั้น
  3. ถ้าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีอายุเกิน 15 ปีบริบูรณ์ย่อมมีสิทธิให้ความยินยอมด้วย
  4. บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะเดียวกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้นแต่จะไม่สูญเสียสิทธิในครอบครัวที่ให้กำเนิดมาและการรับบุตรบุญธรรมจะมีความสมบูรณ์เมื่อมีการจดทะเบียนตามกฎหมายแล้วเท่านั้น
  5.  กฎหมายเกี่ยวกับมรดก คำว่า มรดก หมายถึง ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย รวมทั้งสิทธิและหน้าที่ตลอดทั้งความรับผิดชอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนเสียชีวิต ซึ่งทายาทโดยธรรมคือผู้ทีจะได้รับมรดกจากผู้ตายเป็นลำดับแรก ซึ่งกฎหมายได้จัดแบ่งทายาทโดยธรรม ออกเป็น 6 ชั้น ดังนี้
   1. ผู้สืบสันดาน (บุตร) บิดา มารดา
   2. พี่น้องร่วมสายโลหิตเดียวกัน
   3. พี่น้องร่วมแต่บิดา
   4. พี่น้องร่วมแต่มารดา
   5. ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา
   6. คู่สมรสซึ่งหมายถึงสามีภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น