เมียไม่มี

วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เรื่องที่ 1 มารยาทไทย เรื่องที่ 1 มารยาทไทย 1x42.gif สังคมไทยให้ความสำคัญกับกิริยามารยาทมาตั้งแต่อดีต มีการกำหนดระเบียบแบบแผน จนกลายเป็นธรรมเนียมให้ยึดถือปฎิบัติสืบต่อกันมา การเรียนรู้เรื่องมารยาทไทยที่ถูกต้องตามระเบียบแบบแผน จึงถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะผู้ที่มีมารยาทงดงาม ย่อมเป็นที่รักใคร่เอ็นดูของผู้พบเห็น ช่วยเสริมสร้างความประทับใจให้กับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี มารยาทในการแสดงความเคารพ การแสดงความเคารพเป้็นเอกลักษณ์สำคัญของคนไทย สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายลักษณะ เช่นการไหว้ การกราบ การคำนับ การถวายความเคารพ เป็นต้น อย่างไรก็ตามการแสดงความเคารพ มีความแตกต่างไปตามความเหมาะสมของผู้รับความเคารพด้วยว่าอยู่ในฐานะใด หรือในโอกาสใด. การแสดงความเคารพด้วยการไหว้ การไหว้แบบไทยแบ่งเป็น 3 แบบ ตามระดับของบุคคลดังนี้ ไหว้พระสงฆ์ ประนมมือแล้วยกขึ้น พร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้สัมผัสส่วนบนของหน้าผาก ไหว้พ่อแม่ ครู ญาติผู้ใหญ่ ประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วชี้สัมผัสระหว่างคิ้ว ไหว้รุ่นพี่ เพื่อน ประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วชี้สัมผัสปลายจมูก การเป็นแบบอย่างที่ดี และการอนุรักษ์มารยาทในการไหว้ สามารถปฎิบัติได้ดังนี้ ศึกษาวิธีการไหว้ในระดับต่างๆ ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ไหว้บุคคล รูปเคารพ และสถานที่ต่างๆ อย่างถูกวิธี เหมาะสม เข้าร่วมกิจกรรมการไหว้ เช่นกิจกรรมการประกวดมารยาทไทย เป็นต้น แนะนำและถ่ายทอดวิธีการไหว้อย่างถูกต้องเหมาะสมให้แก่ผู้อื่น สนับสนุน และชื่นชมผู้ที่ไหว้อย่างถูกต้อง สวยงาม และเหมาะสม การแนะนำผู้อื่น และการเผยแพร่วัฒนธรรมการไหว้ สามารถปฎิบัติได้ดังนี้ อธิบายถึงคุณค่าและความสำคัญของวัฒนธรรมการไหว้ของไทยที่ถูกต้อง แสดงตัวอย่างวิธีการไหว้ที่ถูกต้อง สวยงาม และเหมาะสม ฝึกฝนให้ผู้อื่นไหว้อย่างถูกต้อง สวยงาม และเหมาะสม เชิญชวน และส่งเสริมให้ผู้อื่นเข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์มารยาทไทย เช่น เข้าร่วมประกวดมารยาทไทย เป็นต้น สอนวัฒนธรรมการไหว้ให้แก่ชาวต่างชาติ การมีสัมมาคารวะ บุคคลผู้มีสัมมาคารวะ คือ ผู้ที่แสดงกิริยามารยาทต่อบุคคลอื่นอย่างสุภาพ อ่อนน้อม รู้จักกาลเทศะ ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะสำคัญของคนไทยที่พึงปฎิบัติ ผู้มีสัมมาคารวะย่อมได้รับคำชื่นชมจากบุคคลรอบข้าง และได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เนื่องจากสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาตนทั้งทางด้านปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ การปฎิบัติตนเป็นผู้ที่มีสัมมาคารวะ สามารถปฎิบัติได้ดังนี้ แสดงความเคารพต่อบุคคลและสถานที่ด้วยวิธีการไหว้การกราบ เป็นต้น สำรวมกาย วาจา ใจ ให้สุภาพเรียบร้อย อ่อนน้อมถ่อมตนและรู้จักกาลเทศะในทุกสถานการณ์และทุกสถานที่ ให้เกียรติบุคคลและสถานที่ ด้วยการแต่งกายสุภาพเรียบร้อย เหมาะสมตามโอกาส แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ครูอาจารย์ และผู้มีพระคุณ ปฎิบัติตามกติกา กฎ ระเบียบแบบแผนของครอบครัว โรงเรียน องค์กร ชุมชน และประเทศชาติ การเป็นแบบอย่างที่ดี และการอนุรักษ์มารยาทด้านการมีสัมมาคารวะ สามารถปฎิบัติได้ดังนี้ ศึกษาและฝึกปฎิบัติตนในการมีสัมมาคารวะ ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้และชำนาญ ปฎิบัติตนเป็นผู้มีสัมมาคารวะด้าน กาย วาจา ใจ ทั้งต่อบุคคล สถานที่ เพื่อให้ผู้อื่นนำไปปฎิบัติตาม ให้คำแนะนำและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น ในการปฎิบัติตนเป็นผู้มีสัมมาคารวะ ด้วยการฝึกฝนให้ปฎิบัติ และอธิบายถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฎิบัติ เข้าร่วม ส่งเสริม หรือจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปลูกฝังความมีสัมมาคารวะ เช่น ค่ายคุณธรรม พิธีไหว้ครู เป็นต้น จัดทำสสื่อเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมการแสดงความเคารพของไทย เพื่อให้ผู้อื่นได้นำไปใช้ศึกษา และถ่ายทอดให้ผู้อื่นสืบต่อไป การแนะนำผู้อื่น และการเผยแพร่วัฒนธรรมด้านการมีสัมมาคารวะ สามารถปฎิบัติได้ดังนี้ จัดทำสื่อนวัตกรรม เอกสารเกี่ยวกับการมีสัมมาคารวะ เผยแพร่แก่บุคคลทั่วไป เพื่อให้นำไปปรับใช้ในการปฎิบัติตน ให้เหมาะสมแก่กาลเทศะ และโอกาส เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำผู้อื่นในการแสดงมารยาทด้านความมีสัมมาคารวะอย่างถูกต้อง และเหมาะสม ส่งเสริมและแนะนำให้ผู้อื่นเข้าร่วมจัดกิจกรรมเกี่ยวกับมารยาทไทยที่จัดขึ้นในโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานต่างๆ 1x42.gif

เรื่องที่ 1 มารยาทไทย

เรื่องที่ 1 มารยาทไทย
1x42.gif

สังคมไทยให้ความสำคัญกับกิริยามารยาทมาตั้งแต่อดีต มีการกำหนดระเบียบแบบแผน จนกลายเป็นธรรมเนียมให้ยึดถือปฎิบัติสืบต่อกันมา
การเรียนรู้เรื่องมารยาทไทยที่ถูกต้องตามระเบียบแบบแผน จึงถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะผู้ที่มีมารยาทงดงาม ย่อมเป็นที่รักใคร่เอ็นดูของผู้พบเห็น ช่วยเสริมสร้างความประทับใจให้กับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

  1. มารยาทในการแสดงความเคารพ การแสดงความเคารพเป้็นเอกลักษณ์สำคัญของคนไทย สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายลักษณะ เช่นการไหว้ การกราบ การคำนับ การถวายความเคารพ เป็นต้น อย่างไรก็ตามการแสดงความเคารพ มีความแตกต่างไปตามความเหมาะสมของผู้รับความเคารพด้วยว่าอยู่ในฐานะใด หรือในโอกาสใด.
    1. การแสดงความเคารพด้วยการไหว้ การไหว้แบบไทยแบ่งเป็น 3 แบบ ตามระดับของบุคคลดังนี้
      1. ไหว้พระสงฆ์ ประนมมือแล้วยกขึ้น พร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้สัมผัสส่วนบนของหน้าผาก
      2. ไหว้พ่อแม่ ครู ญาติผู้ใหญ่ ประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วชี้สัมผัสระหว่างคิ้ว
      3. ไหว้รุ่นพี่ เพื่อน ประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วชี้สัมผัสปลายจมูก
    2. การเป็นแบบอย่างที่ดี และการอนุรักษ์มารยาทในการไหว้ สามารถปฎิบัติได้ดังนี้
      1. ศึกษาวิธีการไหว้ในระดับต่างๆ ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้
      2. ไหว้บุคคล รูปเคารพ และสถานที่ต่างๆ อย่างถูกวิธี เหมาะสม
      3. เข้าร่วมกิจกรรมการไหว้ เช่นกิจกรรมการประกวดมารยาทไทย เป็นต้น
      4. แนะนำและถ่ายทอดวิธีการไหว้อย่างถูกต้องเหมาะสมให้แก่ผู้อื่น
      5. สนับสนุน และชื่นชมผู้ที่ไหว้อย่างถูกต้อง สวยงาม และเหมาะสม
    3. การแนะนำผู้อื่น และการเผยแพร่วัฒนธรรมการไหว้ สามารถปฎิบัติได้ดังนี้
      1. อธิบายถึงคุณค่าและความสำคัญของวัฒนธรรมการไหว้ของไทยที่ถูกต้อง
      2. แสดงตัวอย่างวิธีการไหว้ที่ถูกต้อง สวยงาม และเหมาะสม
      3. ฝึกฝนให้ผู้อื่นไหว้อย่างถูกต้อง สวยงาม และเหมาะสม
      4. เชิญชวน และส่งเสริมให้ผู้อื่นเข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์มารยาทไทย เช่น เข้าร่วมประกวดมารยาทไทย เป็นต้น
      5. สอนวัฒนธรรมการไหว้ให้แก่ชาวต่างชาติ
  2. การมีสัมมาคารวะ  บุคคลผู้มีสัมมาคารวะ คือ ผู้ที่แสดงกิริยามารยาทต่อบุคคลอื่นอย่างสุภาพ อ่อนน้อม รู้จักกาลเทศะ ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะสำคัญของคนไทยที่พึงปฎิบัติ ผู้มีสัมมาคารวะย่อมได้รับคำชื่นชมจากบุคคลรอบข้าง และได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เนื่องจากสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาตนทั้งทางด้านปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
    1. การปฎิบัติตนเป็นผู้ที่มีสัมมาคารวะ สามารถปฎิบัติได้ดังนี้
      1. แสดงความเคารพต่อบุคคลและสถานที่ด้วยวิธีการไหว้การกราบ เป็นต้น
      2. สำรวมกาย วาจา ใจ ให้สุภาพเรียบร้อย อ่อนน้อมถ่อมตนและรู้จักกาลเทศะในทุกสถานการณ์และทุกสถานที่
      3. ให้เกียรติบุคคลและสถานที่ ด้วยการแต่งกายสุภาพเรียบร้อย เหมาะสมตามโอกาส
      4. แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ครูอาจารย์ และผู้มีพระคุณ
      5. ปฎิบัติตามกติกา กฎ ระเบียบแบบแผนของครอบครัว โรงเรียน องค์กร ชุมชน และประเทศชาติ
    2. การเป็นแบบอย่างที่ดี และการอนุรักษ์มารยาทด้านการมีสัมมาคารวะ สามารถปฎิบัติได้ดังนี้
      1. ศึกษาและฝึกปฎิบัติตนในการมีสัมมาคารวะ ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้และชำนาญ
      2. ปฎิบัติตนเป็นผู้มีสัมมาคารวะด้าน กาย วาจา ใจ ทั้งต่อบุคคล สถานที่ เพื่อให้ผู้อื่นนำไปปฎิบัติตาม
      3. ให้คำแนะนำและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น ในการปฎิบัติตนเป็นผู้มีสัมมาคารวะ ด้วยการฝึกฝนให้ปฎิบัติ และอธิบายถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฎิบัติ
      4. เข้าร่วม ส่งเสริม หรือจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปลูกฝังความมีสัมมาคารวะ เช่น ค่ายคุณธรรม พิธีไหว้ครู เป็นต้น
      5. จัดทำสสื่อเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมการแสดงความเคารพของไทย เพื่อให้ผู้อื่นได้นำไปใช้ศึกษา และถ่ายทอดให้ผู้อื่นสืบต่อไป
    3. การแนะนำผู้อื่น และการเผยแพร่วัฒนธรรมด้านการมีสัมมาคารวะ สามารถปฎิบัติได้ดังนี้
      1. จัดทำสื่อนวัตกรรม เอกสารเกี่ยวกับการมีสัมมาคารวะ เผยแพร่แก่บุคคลทั่วไป เพื่อให้นำไปปรับใช้ในการปฎิบัติตน ให้เหมาะสมแก่กาลเทศะ และโอกาส
      2. เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำผู้อื่นในการแสดงมารยาทด้านความมีสัมมาคารวะอย่างถูกต้อง และเหมาะสม
      3. ส่งเสริมและแนะนำให้ผู้อื่นเข้าร่วมจัดกิจกรรมเกี่ยวกับมารยาทไทยที่จัดขึ้นในโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานต่างๆ

1x42.gif

เรื่องที่ 2 คุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานสังคมไทย เรื่องที่ 2 คุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานสังคมไทย 1x42.gif พลเมืองดี เป็นผู้ประพฤติดีทั้งกาย วาจา ใจ การพัฒนาตนให้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม จึงเป้็นสิ่งสำคัญที่พลเมืองไทยควรยึดถือปฎิบัติ โดยเฉพาะความกตัญญู ควมามเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความมีวินัย และความเสียสละ ถือเป็นคุณธรรมพื้นฐานที่เยาวชนไทยพึงมีเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากแสดงให้เห็นถึงค่านิยมอันดีงามของคนไทยแล้ว ยังส่งเสริมให้ประเทศชาติมีความเป็นระเบียบเรียนร้อย และร่มเย็นเป็นสุขสืบไป ความกตัญญูกตเวที ความกตัญญูเป็นธรรมที่คอยค้ำจุนสังคมไทยให้มั่นคงมาช้านาน ซึ่งนอกจากผู้ที่ยึดมั่นในความกตัญญู จะได้ชื่อว่าเป็นคนดีที่น่าคบหาแล้ว มักยังได้รับการยกย่องสรรเสริญ และสนับสนุนจากบุคคลรอบข้างในทุกๆ ด้าน ทำให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การปฎิบัติตนเป็นผู้มีความกตัญญูกตเววที สามารถปฎิบัติได้ตามแนวทาง ดังนี้ การแสดงความกตัญญูต่อพ่อ แม่ ญาติผู้ใหญ่ และผู้มีพระคุณ ปฎิบัติตนเป็นคนดี ทำตามคำแนะนำสั่งสอนของท่าน และไม่ทำให้ท่านเดือดเนื้อร้อนใจ ช่วยเหลือท่านในการทำงาน ด้วยการแบ่งเบาภาระในการทำงานบ้าน และประหยัดค่าใช้จ่ายของครอบครัว ดูแลท่านทั้งยามที่ท่านป่วยไข้ และยามที่แก่ชรา ไม่ควรทอดทิ้งให้ท่านต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว การแสดงความกตัญญูต่อชาติ ปฎิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด รักษาไว้ซึ่งความเป็นไทย โดยการรักชาติ ยึดมั่นในศาสนา เทอดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ และปกป้องสืบสานวัฒนธรรม และภูมิปัญญาอันดีงามของชาติไม่ให้สูญหาย ใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า โดยการประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ประหยัดพลังงาน และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมให้เสียหายหรือหมดไป ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สังคมไทยได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งมิตรไมตรี เพราะคนไทยใจบุญ พร้อมให้การช่วยเหลือผู็ทุกข์ยากเสมอ ไม่ว่าบุคคลผู้นั้นจะเป้็นคนไทยด้วยกัน หรือเป็นต่างชาติต่างศาสนาก็ตาม ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จึงเป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทย ที่พลเมืองทุกคนควรรักษาไว้ด้วยการยึดถือปฎิบัติตามแนวทางดังนี้ ปฎิบัติตามหลักคำสอนทางศาสนา เช่น พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 ของพระพุทธศาสนา การจ่ายซะกาดของศาสนาอิสลาม เป็นต้น รู้จักแบ่งปัน โดยการให้ทรัพย์สินสิ่งของ รวมถึงวิชาความรู้แก่ผู้ด้อยโอกาสและผู้ตกทุกข์ได้ยาก เช่นบริจาคสิ่งของให้แก่ผู้ประสบภัยธรรมชาติ บริจาคเงินช่วยเหลืองานกาชาด นำอาหารไปเลี้ยงเด็กกำพร้า หรือบริจาคให้แก่บ้านพักคนชรา เป็นต้น ลดการยึดมั่นถือมั่น ทั้งควาามยึดมั่นในความเชื่อ ความคิด หรือการกระทำที่ตนเห็นว่าดีแล้ว เพราะถือเป็นการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ดังนั้นจึงควรเปิดรับและให้โอกาสผู้อื่นแสดงความคิดเห็น หรือกระทำสิ่งต่างๆ ที่ถูกต้องเหมาะสมอย่างอิสระ ซึ่งถือเปฌนการแสดงน้ำใจไมตรีรูปแบบหนึ่ง ความเสียสละ ความเสียสละเป็นธรรมขั้นพื้นฐานสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคม เป็นเครื่องยึดโยงคนในสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีนำใจไมตรีต่อกัน และเป็นเครื่องมือที่สร้างนิสัยของคนในสังคมให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม มากว่าประโยชน์ส่วนตน ลดความโลภในจิตใจ อันจะนำไปสู่ความพอเพียง ซึ่งเป็นความสุขที่แท้จริงและยั่งยืน การเสียสละแต่ละครั้ง มิได้หมายถึงความสุญเสียของผู้ให้ แต่นำมาซึ่งความสุขของผู้ให้ ผู้รับ และสังคม การให้สิ่งของเป็นประโยชน์ด้วยใจที่บริสุทธิ์ จึงปรากฎผลในทางที่ดีเสมอ พลเมืองไทยทุกคน จึงควรปฎิบัติตน เป็นผู้ให้มากกว่าคอยรับแต่เพียงอย่างเดียว เพราะการให้หรือการเสียสละนั้น จะทำให้ชาติบ้านเมืองของเราพัฒนาอย่างมั่นคง การเป็นผู้มีความเสียสละ สามารถปฎิบัติตนตามแนวทาง ดังนี้ ลดความเห็นแก่ตัว ด้วยการเดินทางสายกลาง รู้จักการนำเอาใจเขามาใส่ใจเรา และไม่กระทำสิ่งที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เช่นการแซงคิว การทุจริตคอรัปชั้น เป็นต้น มีจิตสาธารณะ โดยปฎิบัติตนเป็นผู้เสียสละทุกครั้งเมื่อมีโอกาส เช่น การเอื้อเฟื้อที่นั่งบนรถโดยสารให้แก่เด็กและคนชรา การบริจาคโลหิตให้แก่สภากาชาด การสมัครเป็นประธานนักเรียน เป็นต้น รักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการใช้อย่างคุ้มค่า ประหยัด ไม่ทำลาย และสร้างใหม่ ทดแทน เช่น ลดการใช้ถุงพลาสติก ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร ไม่ทิ้งขยะลงแม่น้ำลำคลอง ไม่ตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น การแนะนำผู้อื่นให้เป็นผู้มีความกตัญญู เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ สามารถปฎิบัติได้ตามแนวทาง ดังนี้ ปฎิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านความกตัญยู ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และความเสียสละ ตามแนวทางที่กล่าวไว้ เพื่อให้ผู้อื่นปฎิบัติตาม เข้าร่วมและส่งเสริมให้ผู้อื่นเข้าร่วมกิจกรรม ที่แสดงออกถึงความกตัญญู เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ เช่นบริจาคโลหิต บริจาคสิ่งของให้ผู้ประสบภัย ปลูกป่า เป็นต้น คนดีที่ควรยกย่อง ในฐานะผู้เสียสละประโยชน์ส่วนตัว เพื่อประโยชน์ส่วนรวม เกษตรกร กระดูกสันหลังของชาติ อดทนกับความยากลำบาก หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน เพื่อผลิตอาหารให้กับคนในชาติ เป็นบุคคลสำคัญที่มีส่วนสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและเศรษฐกิจของชาติ ครู แม่พิมพ์ พ่อพิมพ์ของชาติ สละแรงกายแรงใจ เพื่อให้ความรู้แก่คนไทย เพื่อนำไปพัฒนาชีวิตและพัฒนาสังคม เป็นที่ปรึกษาและเป็ที่พึ่งของนักเรียนในด้านต่างๆ แพทย์ ผู้ช่วยเหลือชีวิต เสียสละเวลาและประโยชน์ส่วนตน เพื่อดูแลรักษาคนไข้ให้หายจากอาการเจ็บป่วย ทหาร รั้วของชาติ ยอมสละแรงกายแรงใจและชีพของตน เพื่อปกป้องประเทศชาติ ให้ความช่วยเหลือประชาชนเมื่อประสบภัยต่างๆ แนวทางการรสนับสนุน ช่วยกันพัฒนาเกษตรกรไทยให้ยั่งยืน เชื่อฟังคำสั่งสอน ให้ความเคารพ ยกย่องเชิดชู ตอบแทนพระคุณ ปฎิบัติตามคำแนะนำที่ดีของแพทย์ ให้กำลังใจแพทย์ที่ตั้งใจทำหน้าที่ และมีจรรยาบรรที่ดีในการรักษา ยกย่องเชิดชู ให้เกียรติ ให้กำลังใจ สนับสนุนและให้ความร่วมมือในการทำงานของทหาร 1x42.gif

เรื่องที่ 2 คุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานสังคมไทย

เรื่องที่ 2 คุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานสังคมไทย
1x42.gif

พลเมืองดี เป็นผู้ประพฤติดีทั้งกาย วาจา ใจ การพัฒนาตนให้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม จึงเป้็นสิ่งสำคัญที่พลเมืองไทยควรยึดถือปฎิบัติ โดยเฉพาะความกตัญญู ควมามเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความมีวินัย และความเสียสละ ถือเป็นคุณธรรมพื้นฐานที่เยาวชนไทยพึงมีเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากแสดงให้เห็นถึงค่านิยมอันดีงามของคนไทยแล้ว ยังส่งเสริมให้ประเทศชาติมีความเป็นระเบียบเรียนร้อย และร่มเย็นเป็นสุขสืบไป
  1. ความกตัญญูกตเวที ความกตัญญูเป็นธรรมที่คอยค้ำจุนสังคมไทยให้มั่นคงมาช้านาน ซึ่งนอกจากผู้ที่ยึดมั่นในความกตัญญู จะได้ชื่อว่าเป็นคนดีที่น่าคบหาแล้ว มักยังได้รับการยกย่องสรรเสริญ และสนับสนุนจากบุคคลรอบข้างในทุกๆ ด้าน ทำให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การปฎิบัติตนเป็นผู้มีความกตัญญูกตเววที สามารถปฎิบัติได้ตามแนวทาง ดังนี้
    1. การแสดงความกตัญญูต่อพ่อ แม่ ญาติผู้ใหญ่ และผู้มีพระคุณ
      1. ปฎิบัติตนเป็นคนดี ทำตามคำแนะนำสั่งสอนของท่าน และไม่ทำให้ท่านเดือดเนื้อร้อนใจ
      2. ช่วยเหลือท่านในการทำงาน ด้วยการแบ่งเบาภาระในการทำงานบ้าน และประหยัดค่าใช้จ่ายของครอบครัว
      3. ดูแลท่านทั้งยามที่ท่านป่วยไข้ และยามที่แก่ชรา ไม่ควรทอดทิ้งให้ท่านต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว
    2. การแสดงความกตัญญูต่อชาติ
      1. ปฎิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
      2. รักษาไว้ซึ่งความเป็นไทย โดยการรักชาติ ยึดมั่นในศาสนา เทอดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ และปกป้องสืบสานวัฒนธรรม และภูมิปัญญาอันดีงามของชาติไม่ให้สูญหาย
      3. ใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า โดยการประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ประหยัดพลังงาน และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมให้เสียหายหรือหมดไป
  2. ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  สังคมไทยได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งมิตรไมตรี เพราะคนไทยใจบุญ พร้อมให้การช่วยเหลือผู็ทุกข์ยากเสมอ ไม่ว่าบุคคลผู้นั้นจะเป้็นคนไทยด้วยกัน หรือเป็นต่างชาติต่างศาสนาก็ตาม ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จึงเป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทย ที่พลเมืองทุกคนควรรักษาไว้ด้วยการยึดถือปฎิบัติตามแนวทางดังนี้
    1. ปฎิบัติตามหลักคำสอนทางศาสนา เช่น พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 ของพระพุทธศาสนา การจ่ายซะกาดของศาสนาอิสลาม เป็นต้น
    2. รู้จักแบ่งปัน  โดยการให้ทรัพย์สินสิ่งของ รวมถึงวิชาความรู้แก่ผู้ด้อยโอกาสและผู้ตกทุกข์ได้ยาก เช่นบริจาคสิ่งของให้แก่ผู้ประสบภัยธรรมชาติ บริจาคเงินช่วยเหลืองานกาชาด นำอาหารไปเลี้ยงเด็กกำพร้า หรือบริจาคให้แก่บ้านพักคนชรา เป็นต้น
    3. ลดการยึดมั่นถือมั่น ทั้งควาามยึดมั่นในความเชื่อ ความคิด หรือการกระทำที่ตนเห็นว่าดีแล้ว เพราะถือเป็นการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ดังนั้นจึงควรเปิดรับและให้โอกาสผู้อื่นแสดงความคิดเห็น หรือกระทำสิ่งต่างๆ ที่ถูกต้องเหมาะสมอย่างอิสระ ซึ่งถือเปฌนการแสดงน้ำใจไมตรีรูปแบบหนึ่ง
  3. ความเสียสละ ความเสียสละเป็นธรรมขั้นพื้นฐานสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคม เป็นเครื่องยึดโยงคนในสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีนำใจไมตรีต่อกัน และเป็นเครื่องมือที่สร้างนิสัยของคนในสังคมให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม มากว่าประโยชน์ส่วนตน ลดความโลภในจิตใจ อันจะนำไปสู่ความพอเพียง ซึ่งเป็นความสุขที่แท้จริงและยั่งยืน การเสียสละแต่ละครั้ง มิได้หมายถึงความสุญเสียของผู้ให้ แต่นำมาซึ่งความสุขของผู้ให้ ผู้รับ และสังคม การให้สิ่งของเป็นประโยชน์ด้วยใจที่บริสุทธิ์ จึงปรากฎผลในทางที่ดีเสมอ พลเมืองไทยทุกคน จึงควรปฎิบัติตน เป็นผู้ให้มากกว่าคอยรับแต่เพียงอย่างเดียว เพราะการให้หรือการเสียสละนั้น จะทำให้ชาติบ้านเมืองของเราพัฒนาอย่างมั่นคง การเป็นผู้มีความเสียสละ สามารถปฎิบัติตนตามแนวทาง ดังนี้
    1. ลดความเห็นแก่ตัว ด้วยการเดินทางสายกลาง รู้จักการนำเอาใจเขามาใส่ใจเรา และไม่กระทำสิ่งที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เช่นการแซงคิว การทุจริตคอรัปชั้น เป็นต้น
    2. มีจิตสาธารณะ โดยปฎิบัติตนเป็นผู้เสียสละทุกครั้งเมื่อมีโอกาส เช่น การเอื้อเฟื้อที่นั่งบนรถโดยสารให้แก่เด็กและคนชรา การบริจาคโลหิตให้แก่สภากาชาด การสมัครเป็นประธานนักเรียน เป็นต้น
    3. รักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการใช้อย่างคุ้มค่า ประหยัด ไม่ทำลาย และสร้างใหม่ ทดแทน เช่น ลดการใช้ถุงพลาสติก ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร ไม่ทิ้งขยะลงแม่น้ำลำคลอง ไม่ตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น
  4. การแนะนำผู้อื่นให้เป็นผู้มีความกตัญญู เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ สามารถปฎิบัติได้ตามแนวทาง ดังนี้
    1. ปฎิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านความกตัญยู ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และความเสียสละ ตามแนวทางที่กล่าวไว้ เพื่อให้ผู้อื่นปฎิบัติตาม
    2. เข้าร่วมและส่งเสริมให้ผู้อื่นเข้าร่วมกิจกรรม ที่แสดงออกถึงความกตัญญู เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ เช่นบริจาคโลหิต บริจาคสิ่งของให้ผู้ประสบภัย ปลูกป่า เป็นต้น
  5. คนดีที่ควรยกย่อง ในฐานะผู้เสียสละประโยชน์ส่วนตัว เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
    1. เกษตรกร กระดูกสันหลังของชาติ
      1. อดทนกับความยากลำบาก หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน เพื่อผลิตอาหารให้กับคนในชาติ
      2. เป็นบุคคลสำคัญที่มีส่วนสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและเศรษฐกิจของชาติ
    2. ครู แม่พิมพ์ พ่อพิมพ์ของชาติ
      1. สละแรงกายแรงใจ เพื่อให้ความรู้แก่คนไทย เพื่อนำไปพัฒนาชีวิตและพัฒนาสังคม
      2. เป็นที่ปรึกษาและเป็ที่พึ่งของนักเรียนในด้านต่างๆ
    3. แพทย์ ผู้ช่วยเหลือชีวิต
      1. เสียสละเวลาและประโยชน์ส่วนตน เพื่อดูแลรักษาคนไข้ให้หายจากอาการเจ็บป่วย
    4. ทหาร รั้วของชาติ
      1. ยอมสละแรงกายแรงใจและชีพของตน เพื่อปกป้องประเทศชาติ
      2. ให้ความช่วยเหลือประชาชนเมื่อประสบภัยต่างๆ
  6. แนวทางการรสนับสนุน
    1. ช่วยกันพัฒนาเกษตรกรไทยให้ยั่งยืน
    2. เชื่อฟังคำสั่งสอน ให้ความเคารพ ยกย่องเชิดชู ตอบแทนพระคุณ
    3. ปฎิบัติตามคำแนะนำที่ดีของแพทย์
    4. ให้กำลังใจแพทย์ที่ตั้งใจทำหน้าที่ และมีจรรยาบรรที่ดีในการรักษา
    5. ยกย่องเชิดชู ให้เกียรติ ให้กำลังใจ
    6. สนับสนุนและให้ความร่วมมือในการทำงานของทหาร

1x42.gif

เรื่องที่ 3 ขนธรรมเนียมประเพณีไทย เรื่องที่ 3 ขนธรรมเนียมประเพณีไทย 1x42.gif ชาติไทยมีขนบธรรมเนียมประเพณีอันงดงาม สร้างสรรค์ขึ้นโดยบรรพบุรุษไทยและถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาอย่างยาวนนาน จนกลายมาเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ที่เชื่อมความรู้สึกของชาวไทยทุกคนให้ตระหนักว่า “เราคือคนไทยด้วยกัน” การมีขนบธรรมเนียมประเพณีเป้็นของตนเอง นับเป็นสิ่งน่าภาคภมิใจ ควรแก่การศึกษาเรียนรู้และอนุรักษ์สืบสาน ตลอดจนพัฒนาให้สอดคล้องกับยุคสมัย โดยไม่ทิ้งรากเหง้้าเดิม เพราะนอกจากจะสามารถดำรงไว้ซึ่งเอกลักษ์อันดีงามของชาติแล้ว ยังสามารถสืบสานวัฒนธรรมไทยให้คนรุ่นหลังได้ปฎิบัติตามอย่างถูกต้อง ประเภทของขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ขนบธรรรรมเนียมประเพณี หมายถึง ความประพฤติที่คนกลุ่มหนึ่งกำหนดขึ้น และยึดถือเป็นแบบแผนปฎิบัติสืบเนื่องกันมา จนเป็นอัตลักษณ์ของคนกลุ่มนั้น จำแนกได้ดังนี้ จารีตประเพณี เป็นข้อปฎิบัติให้คนในสังคมทำตาม หากผู้ใดฝ่าฝืนจะถือเป็นคนผิดบาป เช่น ลูกต้องเลี้ยงดู พ่อแม่ เมื่อท่านเจ็บไข้หรือยามแก่ชรา ห้ามญาติพี่น้องแต่งงานหรืออยู่กินเป็นสามีภรรยากัน ขนบประเพณี เป็นประเพณีที่วางระเบียบพิธีการไว้อย่างชัดเจน หรือเป็นที่รู้กันว่าควรประพฤติปฎิบัติอย่างไร เช่น การประกอบงานบุญพิธีอุปสมบท แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น การประกอบพิธีไหว้ครู ทำขวัญข้าว บวงสรวงเทพเทวาอารักษ์ เป็นต้น ธรรมเนียมประเพณี เป็นข้อปฎิบัติเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญ ไม่มีข้อบังคับว่าต้องปฎิบัติ แต่ถ้าไม่ปฎิบัติอาจถูกตำหนิ หรือถูกติฉินนินทาได้ เช่น การยกมือไหว้ผู้ใหญ่ การสวมชุดดำไปร่วมงานศพ เป็นต้น การปฎิบัติตนตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยมีอยู่เป็นจำนวนมาก และถือปฎิบัติกันมาเป็นเวลาช้านาน ขนบประเพณีบางอย่างถือปฎิบัติกันเฉพาะถิ่น เรียกว่า ขนบธรรมเนียมปีะเพณีท้องถิ่น เช่น ประเพณีปอยส่างลองในภาคเหนือ ประเพณีผีตาโขนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเพณีโยนบัวในภาคกลาง ประเพณีชักพระในภาคใต้ เป็นต้น จากความหลาหหลายของขนบธรรมเนียมประเพณีไทย จึงนำขนบธรรมเนียมประเพณีที่พบเห็นโดยทั่วไปในทุกภูมิภาค และเกี่วข้องกับวิถีชีวิตของคนไทยอย่างใกล้ชิด มาแสดงเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เห็นแนวทางการปฎิบติตนที่ถูกต้องเหมาะสม ดังนี้ การต้อนรับแขก เป็นธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ คำกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นความสำคัญของการต้อนรับผู้มาเยือน ซึ่งมีแนวทางปฎิบัติดังนี้ จัดเตรียมสถานที่ต้อนรับแขก อาจเป็นห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น หรือเฉลียงก็ตามตามความเหมาะสม แต่มีหลักสำคัญคือ ต้องจัดสถานที่ต้อนรับที่ดีที่สุดเท่าที่จะพึงจัดได้ ออกไปต้อนรับแขก เจ้าบ้านต้องต้อนรับแขกด้วยใบหน้ายิ้มแย้มยินดี และกล่าวคำเชื้อเชิญให้แขกเข้ามานั่งพักผ่อนในสถานที่จัดเตรียมไว้ นำเครื่องดื่มมาต้อนรับแขก นำน้ำดื่มหรือเครื่องดื่ม ที่เตรียมไว้มาต้อนรับ เพื่อให้แขกดับกระหาย หรือบรรเทาความเหนื่อยล้าจากการเดินทาง ระหว่างสนทนากับแขก ไม่ควรเหลือบดูนาฬิกา หรือแสดงอาการลุกลี้ลุกลน เพราะจะทำให้แขกเข้าใจว่า เจ้าบ้านมีกิจธุระรีบด่วน หากมีกิจธุระจำเป็นให้กล่าวคำขอโทษ และชี้แจงเหตุและผลให้แขกทราบ เมื่อแขกขอลากลับ เจ้าบ้านต้องตามออกไปส่งในระยะพอสมควร อาจกล่าวเชื้อเชิญให้แขกมาเยี่ยมเยียนในโอกาสหน้า หรือกล่าวให้แขกเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ ประเพณีบวชนาค การปฎิบัติที่เหมาะสมในการไปร่วมงานพิธีอุปสมบท ควรปฎิบัติดังนี้ การแต่งกายไปร่วมงงาน ควรสวมชุดสุภาพเหมาะสม เช่น เช่นสวมใส่ชุดผ้าไทย หรือชุดที่สุภาพเรียบร้อย เลือกสีเสื้อผ้าที่สดใสเหมาะกับงานบุญ สวมใส่สบาย ทักทายเจ้าภาพ ควรทักทายหรือพูดกับเจ้าภาพ หรือนาค อาจกล่าวแสดงความชื่นชมยินดี ตามความเหมาะสม แต่ไม่ควรชวนคุยนาน เพราะเจ้าภาพต้องต้อนรับแขกท่านอื่นด้วย ระหว่างการประกอบพิธีอุปสมบท เป็นขั้นตอนในการประกอบพิธีกรรม ซึ่งมีพระสงฆ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ผู้เข้าร่วมพิธีควรสำรวมกาย วาจา และใจ ไม่แสดงกิริยามารยาทที่ไม่เหมาะสม เสร็จพิธี แขกควรลาเจ้าภาพกลับ และแสดงความมีน้ำใจด้วยการแสดงความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือ หากมีการจัดการอื่นๆในโอกาสต่อไป แนวทางการอนุรักษ์์ สืบสาน และเผยแพร่ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย การอนุรักษ์สืบสาน และถ่ายทอดธรรมเนียมประเพณีไทย เพื่อให้คงอยู่คู่สังคมไทยสืบไป สามารถปฎิบัติได้ ดังนี้ ศึกษาค้นคว้าเกี่วกับขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ช่วยให้ทราบความหมาย คุณค่า ความสำคัญและแนวทางปฎิบัติตน ซึ่งความรู้ที่ได้ จะเป็นพื้ฐานนำไปสู่การปฎิบัติที่ถูกต้อง และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นปฎิบัติตามได้อย่างเหมาะสม สร้างทัศนคติและสำนึกในหน้าที่ ด้วยการสร้างความตระหนักว่า ทุกคนในชาติ มีหน้าที่ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ดูแลรักษาและสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีไทยให้คงอยู่คู่สังคมไทยสืบไป รณรงค์ให้ประชาชนและภาคเอกชนตระหนักในความสำคัญ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์และสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีไทย และสนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมไทย 1x42.gif

เรื่องที่ 3 ขนธรรมเนียมประเพณีไทย

เรื่องที่ 3 ขนธรรมเนียมประเพณีไทย
1x42.gif
ชาติไทยมีขนบธรรมเนียมประเพณีอันงดงาม สร้างสรรค์ขึ้นโดยบรรพบุรุษไทยและถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาอย่างยาวนนาน จนกลายมาเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ที่เชื่อมความรู้สึกของชาวไทยทุกคนให้ตระหนักว่า “เราคือคนไทยด้วยกัน”  การมีขนบธรรมเนียมประเพณีเป้็นของตนเอง นับเป็นสิ่งน่าภาคภมิใจ ควรแก่การศึกษาเรียนรู้และอนุรักษ์สืบสาน ตลอดจนพัฒนาให้สอดคล้องกับยุคสมัย โดยไม่ทิ้งรากเหง้้าเดิม เพราะนอกจากจะสามารถดำรงไว้ซึ่งเอกลักษ์อันดีงามของชาติแล้ว ยังสามารถสืบสานวัฒนธรรมไทยให้คนรุ่นหลังได้ปฎิบัติตามอย่างถูกต้อง

  1. ประเภทของขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ขนบธรรรรมเนียมประเพณี หมายถึง ความประพฤติที่คนกลุ่มหนึ่งกำหนดขึ้น และยึดถือเป็นแบบแผนปฎิบัติสืบเนื่องกันมา จนเป็นอัตลักษณ์ของคนกลุ่มนั้น จำแนกได้ดังนี้
    1. จารีตประเพณี เป็นข้อปฎิบัติให้คนในสังคมทำตาม หากผู้ใดฝ่าฝืนจะถือเป็นคนผิดบาป เช่น
      1. ลูกต้องเลี้ยงดู พ่อแม่ เมื่อท่านเจ็บไข้หรือยามแก่ชรา
      2. ห้ามญาติพี่น้องแต่งงานหรืออยู่กินเป็นสามีภรรยากัน
    2. ขนบประเพณี เป็นประเพณีที่วางระเบียบพิธีการไว้อย่างชัดเจน หรือเป็นที่รู้กันว่าควรประพฤติปฎิบัติอย่างไร เช่น
      1. การประกอบงานบุญพิธีอุปสมบท แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
      2. การประกอบพิธีไหว้ครู ทำขวัญข้าว บวงสรวงเทพเทวาอารักษ์ เป็นต้น
    3. ธรรมเนียมประเพณี  เป็นข้อปฎิบัติเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญ ไม่มีข้อบังคับว่าต้องปฎิบัติ แต่ถ้าไม่ปฎิบัติอาจถูกตำหนิ หรือถูกติฉินนินทาได้ เช่น
      1. การยกมือไหว้ผู้ใหญ่
      2. การสวมชุดดำไปร่วมงานศพ เป็นต้น
  2. การปฎิบัติตนตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย  ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยมีอยู่เป็นจำนวนมาก และถือปฎิบัติกันมาเป็นเวลาช้านาน ขนบประเพณีบางอย่างถือปฎิบัติกันเฉพาะถิ่น เรียกว่า ขนบธรรมเนียมปีะเพณีท้องถิ่น เช่น ประเพณีปอยส่างลองในภาคเหนือ ประเพณีผีตาโขนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเพณีโยนบัวในภาคกลาง ประเพณีชักพระในภาคใต้ เป็นต้น จากความหลาหหลายของขนบธรรมเนียมประเพณีไทย จึงนำขนบธรรมเนียมประเพณีที่พบเห็นโดยทั่วไปในทุกภูมิภาค และเกี่วข้องกับวิถีชีวิตของคนไทยอย่างใกล้ชิด มาแสดงเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เห็นแนวทางการปฎิบติตนที่ถูกต้องเหมาะสม ดังนี้
    1. การต้อนรับแขก เป็นธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ คำกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นความสำคัญของการต้อนรับผู้มาเยือน ซึ่งมีแนวทางปฎิบัติดังนี้
      1. จัดเตรียมสถานที่ต้อนรับแขก อาจเป็นห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น หรือเฉลียงก็ตามตามความเหมาะสม แต่มีหลักสำคัญคือ ต้องจัดสถานที่ต้อนรับที่ดีที่สุดเท่าที่จะพึงจัดได้
      2. ออกไปต้อนรับแขก เจ้าบ้านต้องต้อนรับแขกด้วยใบหน้ายิ้มแย้มยินดี และกล่าวคำเชื้อเชิญให้แขกเข้ามานั่งพักผ่อนในสถานที่จัดเตรียมไว้
      3. นำเครื่องดื่มมาต้อนรับแขก นำน้ำดื่มหรือเครื่องดื่ม ที่เตรียมไว้มาต้อนรับ เพื่อให้แขกดับกระหาย หรือบรรเทาความเหนื่อยล้าจากการเดินทาง
      4. ระหว่างสนทนากับแขก ไม่ควรเหลือบดูนาฬิกา หรือแสดงอาการลุกลี้ลุกลน เพราะจะทำให้แขกเข้าใจว่า เจ้าบ้านมีกิจธุระรีบด่วน หากมีกิจธุระจำเป็นให้กล่าวคำขอโทษ และชี้แจงเหตุและผลให้แขกทราบ
      5. เมื่อแขกขอลากลับ เจ้าบ้านต้องตามออกไปส่งในระยะพอสมควร อาจกล่าวเชื้อเชิญให้แขกมาเยี่ยมเยียนในโอกาสหน้า หรือกล่าวให้แขกเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
    2. ประเพณีบวชนาค การปฎิบัติที่เหมาะสมในการไปร่วมงานพิธีอุปสมบท ควรปฎิบัติดังนี้
      1. การแต่งกายไปร่วมงงาน  ควรสวมชุดสุภาพเหมาะสม เช่น เช่นสวมใส่ชุดผ้าไทย หรือชุดที่สุภาพเรียบร้อย เลือกสีเสื้อผ้าที่สดใสเหมาะกับงานบุญ สวมใส่สบาย
      2. ทักทายเจ้าภาพ ควรทักทายหรือพูดกับเจ้าภาพ หรือนาค อาจกล่าวแสดงความชื่นชมยินดี ตามความเหมาะสม แต่ไม่ควรชวนคุยนาน เพราะเจ้าภาพต้องต้อนรับแขกท่านอื่นด้วย
      3. ระหว่างการประกอบพิธีอุปสมบท เป็นขั้นตอนในการประกอบพิธีกรรม ซึ่งมีพระสงฆ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ผู้เข้าร่วมพิธีควรสำรวมกาย วาจา และใจ ไม่แสดงกิริยามารยาทที่ไม่เหมาะสม
      4. เสร็จพิธี แขกควรลาเจ้าภาพกลับ และแสดงความมีน้ำใจด้วยการแสดงความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือ หากมีการจัดการอื่นๆในโอกาสต่อไป
    3. แนวทางการอนุรักษ์์ สืบสาน และเผยแพร่ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย การอนุรักษ์สืบสาน และถ่ายทอดธรรมเนียมประเพณีไทย เพื่อให้คงอยู่คู่สังคมไทยสืบไป สามารถปฎิบัติได้ ดังนี้
      1. ศึกษาค้นคว้าเกี่วกับขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ช่วยให้ทราบความหมาย คุณค่า ความสำคัญและแนวทางปฎิบัติตน ซึ่งความรู้ที่ได้ จะเป็นพื้ฐานนำไปสู่การปฎิบัติที่ถูกต้อง และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นปฎิบัติตามได้อย่างเหมาะสม
      2. สร้างทัศนคติและสำนึกในหน้าที่ ด้วยการสร้างความตระหนักว่า ทุกคนในชาติ มีหน้าที่ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ดูแลรักษาและสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีไทยให้คงอยู่คู่สังคมไทยสืบไป
      3. รณรงค์ให้ประชาชนและภาคเอกชนตระหนักในความสำคัญ  โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์และสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีไทย และสนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมไทย

1x42.gif

เรื่องที่ 4 ศิลปวัฒนธรรมไทย เรื่องที่ 4 ศิลปวัฒนธรรมไทย 1x42.gif ศิลปกรรมไทย เป็นภูมิปัญญาที่มีความละเอียด ประณีตและอ่อนช้อยงดงามอย่างยิ่ง เพราะถูกสร้างสรรค์ขึ้นจากจิตใจและลักษณะนิสัยอันอ่อนช้อยงดงามของคนไทย ภายใต้ความงามของงานศิลปะไทย จึงสอดแทรกไว้ซึ่งความงามทั้งด้านฝีมือและจิตใจผู้สร้างอย่างลงตัว เยาวชนในฐานะของผู้ที่จะเติบโตไปเป็นอนาคตของชาติ จึงมีหน้าที่สำคัญในการปกป้อง รักษา อนุรักษ์ และถ่ายทอดศิลปกรรมไทยอันทรงคุณค่า ให้คงอยู่คู่สังคมไทยและสังคมโลกสืบไป ปรเภทของศิลปวัฒนธรรมไทย งานศิลปกรรมไทย ส่วนใหญ่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นตามความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และความงามของธรรมชาติ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้ จิตรกรรม วรรณกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม นาฎดุริยางคศิลป์ ตัวอย่างงาน ศิลปกรรมไทย จิตกรรม จิตรกรรมเรื่องเวชสันดรชาดก วัดบวกครกหลวง จ.เชียงใหม่ จิตรกรรมเรื่องรามเกียรติ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.กรุงเทพฯ จิตกรรมเรื่องเวสสันดรชาดก วัดพุทธสีมา จ.ร้อยเอ็ด จิตกรรมคนรำโนราห์ วัดมัชฌิมวาส จ.สงขลา ปฎิมากรรม พระพุทธสิหิงค์ ศิลปเชียงแสน พระศรีศากยทศพลญาณ ศิลปรัตนโกสินทร์ พระใส ศิลปลานช้าง พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล ศิลปะสกุลช่างนครศรีธรรมราช สถาปัตยกรรม วัดพระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ วัดพระธาตุพนม จ.นครพนม วัดมหาธาตุฯ จ.นครศรีธรรมราช นาฎดุริยางคศิลป์ ฟ้อนเล็บ ภาคเหนือ โขน ภาคกลาง เซิ้งโปงลาง ภาคตะวันนออกเฉียงเหนือ รำโนราห์ ภาคใต้ วรรณกรรม ชินกาล มาลีปกรณ์ ภาคเหนือ พระอภันมณี ภาคกลาง ท้าวก่ำกาดำ ภาคตะวันนออกเฉียงเหนือ กายนคร ภาคใต้ แนวทางการอนุรักษ์ สืบสาน และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย รวบรวมข้อมูลศิลปวัฒนธรรมประเภทต่างๆ ทั้งจากคนในท้องถิ่น และเอกสารที่ได้มีการบันทึกไว้ เพื่อนำมาศึกษาให้เข้าใจถึงแก่นแท้ เอกลักษณ์ และคุณประโยชน์ของศิลปวัฒนธรรมนั้นๆ สร้างศูนย์กลางในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานด้านศิลปวัฒนธรรมไทย ด้วนระบบเครือข่ายสารสนเทศ เช่นการสร้างเว็บไซต์เกี่ยวกับศิลปวัฒธรรมไทย เป็นต้น ให้การสนับสนุนและยกย่องผู้สร้างสรรค์ และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย เช่นศิลปินแห่งชาติ สาขาต่างๆ เป็นต้น รณรงค์เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกและความรับผิดชอบในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย ให้สมาชิกในสังคม ด้วยการให้ความรู้ และจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าร่วมได้ ดูแลรักษาศิลปกรรมไทย ทั้งจิตรกรรม ปติมากรรม และสถาปัตยกรรม ให้คงอยู้ในสภาพสมบูรณ์ ไม่ไปทำลย หรือหากพบเห็นผู้ทำลาย ควรแจ้งให้หน่วยงาที่รับผิดชอบทราบ ส่งเสริมและแลลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ โดยการใช้ศิลปวัฒนธรรมเป็นสื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน เข้าร่วม แนะนำ และเชิญชวนให้ผู้อื่นเข้าร่วมงานหรือกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับศฺิลปวัฒนธรรม เช่น งานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย 1x42.gif

เรื่องที่ 4 ศิลปวัฒนธรรมไทย

เรื่องที่ 4 ศิลปวัฒนธรรมไทย
1x42.gif

ศิลปกรรมไทย เป็นภูมิปัญญาที่มีความละเอียด ประณีตและอ่อนช้อยงดงามอย่างยิ่ง เพราะถูกสร้างสรรค์ขึ้นจากจิตใจและลักษณะนิสัยอันอ่อนช้อยงดงามของคนไทย ภายใต้ความงามของงานศิลปะไทย จึงสอดแทรกไว้ซึ่งความงามทั้งด้านฝีมือและจิตใจผู้สร้างอย่างลงตัว
เยาวชนในฐานะของผู้ที่จะเติบโตไปเป็นอนาคตของชาติ จึงมีหน้าที่สำคัญในการปกป้อง รักษา อนุรักษ์ และถ่ายทอดศิลปกรรมไทยอันทรงคุณค่า ให้คงอยู่คู่สังคมไทยและสังคมโลกสืบไป

  1. ปรเภทของศิลปวัฒนธรรมไทย งานศิลปกรรมไทย ส่วนใหญ่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นตามความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และความงามของธรรมชาติ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
    1. จิตรกรรม
    2. วรรณกรรม
    3. ประติมากรรม
    4. สถาปัตยกรรม
    5. นาฎดุริยางคศิลป์
  2. ตัวอย่างงาน ศิลปกรรมไทย
    1. จิตกรรม
      1. จิตรกรรมเรื่องเวชสันดรชาดก วัดบวกครกหลวง จ.เชียงใหม่
      2. จิตรกรรมเรื่องรามเกียรติ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.กรุงเทพฯ
      3. จิตกรรมเรื่องเวสสันดรชาดก วัดพุทธสีมา จ.ร้อยเอ็ด
      4. จิตกรรมคนรำโนราห์ วัดมัชฌิมวาส จ.สงขลา
    2. ปฎิมากรรม
      1. พระพุทธสิหิงค์ ศิลปเชียงแสน
      2. พระศรีศากยทศพลญาณ ศิลปรัตนโกสินทร์
      3. พระใส ศิลปลานช้าง
      4. พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล ศิลปะสกุลช่างนครศรีธรรมราช
    3. สถาปัตยกรรม
      1. วัดพระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง
      2. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม  กรุงเทพฯ
      3. วัดพระธาตุพนม จ.นครพนม
      4. วัดมหาธาตุฯ จ.นครศรีธรรมราช
    4. นาฎดุริยางคศิลป์
      1. ฟ้อนเล็บ ภาคเหนือ
      2. โขน ภาคกลาง
      3. เซิ้งโปงลาง ภาคตะวันนออกเฉียงเหนือ
      4. รำโนราห์ ภาคใต้
    5. วรรณกรรม
      1. ชินกาล มาลีปกรณ์ ภาคเหนือ
      2. พระอภันมณี ภาคกลาง
      3. ท้าวก่ำกาดำ ภาคตะวันนออกเฉียงเหนือ
      4. กายนคร  ภาคใต้
  3. แนวทางการอนุรักษ์ สืบสาน และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย
    1. รวบรวมข้อมูลศิลปวัฒนธรรมประเภทต่างๆ ทั้งจากคนในท้องถิ่น และเอกสารที่ได้มีการบันทึกไว้ เพื่อนำมาศึกษาให้เข้าใจถึงแก่นแท้ เอกลักษณ์ และคุณประโยชน์ของศิลปวัฒนธรรมนั้นๆ
    2. สร้างศูนย์กลางในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานด้านศิลปวัฒนธรรมไทย ด้วนระบบเครือข่ายสารสนเทศ เช่นการสร้างเว็บไซต์เกี่ยวกับศิลปวัฒธรรมไทย เป็นต้น
    3. ให้การสนับสนุนและยกย่องผู้สร้างสรรค์ และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย เช่นศิลปินแห่งชาติ สาขาต่างๆ เป็นต้น
    4. รณรงค์เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกและความรับผิดชอบในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย ให้สมาชิกในสังคม ด้วยการให้ความรู้ และจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าร่วมได้
    5. ดูแลรักษาศิลปกรรมไทย ทั้งจิตรกรรม ปติมากรรม และสถาปัตยกรรม ให้คงอยู้ในสภาพสมบูรณ์ ไม่ไปทำลย หรือหากพบเห็นผู้ทำลาย ควรแจ้งให้หน่วยงาที่รับผิดชอบทราบ
    6. ส่งเสริมและแลลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ โดยการใช้ศิลปวัฒนธรรมเป็นสื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน
    7. เข้าร่วม แนะนำ และเชิญชวนให้ผู้อื่นเข้าร่วมงานหรือกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับศฺิลปวัฒนธรรม เช่น งานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย

1x42.gif

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความมีวินัยในตนเอง หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความมีวินัยในตนเอง 1x42.gif สังคมจะดำรงอยู่ได้ก็ด้วยคนในชาติมีระเบียบวินัย เคารพกฎกติกา รับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง และไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ความมีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ จึงเป็นคุณธรรมที่สำคัญยิ่งต่อความมั่นคงของชาติ หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว ประเทศก็จะเกิดความสงบสุขได้ ด้วยเหตุนี้ คนไทยทุกคน จึงควรสร้างวินัยในตนเอง และรับผิดชอบต่อสังคม เพราะนอกจากจะทำให้ตนเองก้าวสู่ความสำเร็จแล้ว ยังส่งเสริมให้ประเทศชาติ พัฒนาสู่ความเจริญทัดเทียม กับอานารยประเทศได้รวดเร็วอีกด้วย แนวคิดการเรียน การสร้างความมีระเบียบวินัยในตนเอง สามารถทำได้อย่างไร ผลการเรียนรู้ ปฎิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตนเอง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความมีวินัยในตนเอง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
ความมีวินัยในตนเอง
1x42.gif

สังคมจะดำรงอยู่ได้ก็ด้วยคนในชาติมีระเบียบวินัย เคารพกฎกติกา รับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง และไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
ความมีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ จึงเป็นคุณธรรมที่สำคัญยิ่งต่อความมั่นคงของชาติ หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว ประเทศก็จะเกิดความสงบสุขได้
ด้วยเหตุนี้ คนไทยทุกคน จึงควรสร้างวินัยในตนเอง และรับผิดชอบต่อสังคม เพราะนอกจากจะทำให้ตนเองก้าวสู่ความสำเร็จแล้ว ยังส่งเสริมให้ประเทศชาติ พัฒนาสู่ความเจริญทัดเทียม กับอานารยประเทศได้รวดเร็วอีกด้วย


แนวคิดการเรียน
การสร้างความมีระเบียบวินัยในตนเอง สามารถทำได้อย่างไร

ผลการเรียนรู้

ปฎิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตนเอง